สำหรับรายละเอียดทั่วไปของรถโดยสารด่วนพิเศษ BRT ความยาวรถโดยสาร 12 ม. กว้าง 2.52 ม. สูง 3.44 ม. ที่นั่งผู้โดยสาร 20 ที่นั่ง ความจุผู้โดยสารรวมไม่น้อยกว่า 80 คน ที่ล็อคเก้าอี้ล้อเลื่อนสำหรับผู้พิการ 1 ที่มีระบบนำร่องเข้าจอดที่ชานชาลา เพื่อให้รถโดยสารจอดเทียบชานชาลา ระบบเบรกล้อหน้า-หลัง เป็นแบบ disc brake ระบบภาพ-เสียงระบบประกาศ จอ LCD ป้ายสัญญาณจอแสดงภาพแบบแอลอีดีภายในรถโดยสารด้านหน้า-ด้านหลังรถโดยสาร และระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิดภายใน และภายนอกรถโดยสาร
ตัวรถที่มีความทันสมัย มีคุณลักษณะพิเศษ ที่แตกต่างจากรถขนส่งมวลชนทั่วไป
1.ระบบ GPS อัจฉริยะ พร้อมเสียง
ภาพ – เสียง บนจอแสดงผล LCD บอกสถานีที่จะถึง |
2.ติดตั้งระบบจราจรอัจฉริยะ ( Intelligent Transport System หรือ ITS )
ระบบขนส่งจราจรอัจฉริยะประกอบด้วย 4 ระบบสำคัญที่ใช้ในรถBRTคือ
2.1. ระบบการจัดการจราจร เกี่ยวข้องกับการควบคุมการจราจรและสัญญาณไฟจราจร โดยการนำเอาเทคโนโลยีชั้นสูงทั้งในด้านฮาร์ดแวร์และซอร์ฟแวร์มาใช้ในการควบคุมสัญญาณไฟจราจรให้เกิดประสิทธิภาพ นอกจากนั้น ยังรวมถึงการจัดการกับอุบัติเหตุหรืออุบัติการณ์ต่าง ๆ โดยการใช้ Sensor และเทคโนโลยีทางการสื่อสารเพื่อตรวจสอบการเกิดอุบัติเหตุและการยืนยันการดำเนินการช่วยเหลือ ที่สำคัญอย่างยิ่งคือ ระบบดังกล่าวจะมีการนำเทคโนโลยีด้านการตรวจตรา เช่น การนำเอาอุปกรณ์สำหรับตรวจนับจำนวนยานพาหนะมาใช้ เพื่อให้การคำนวณรอบสัญญาณไฟมีความสอดคล้องกับปริมาณการจราจรในแต่ละทิศทางของทางแยกและตรงกับเวลาจริงมากที่สุด
2.2 ระบบการให้ข้อมูลข่าวสารการเดินทาง ระบบดังกล่าวนี้เป็นการให้ข้อมูลข่าวสารก่อนการเดินทาง ระบบแนะนำเส้นทางติดตั้งในรถยนต์ การให้ข้อมูลข่าวสารขณะเดินทางเกี่ยวกับอุบัติการณ์และอุบัติเหตุต่าง ๆ ตลอดจนสภาพถนน สภาพการจราจรและสภาพแวดล้อม โดยใช้เทคโนโลยีด้าน วิทยุสื่อสาร ป้ายสลับข้อความ อินเตอร์เน็ต การรายงานข่าวทางโทรทัศน์และการให้ข้อมูลส่วนบุคคล (PDA) เป็นต้น นอกจากนั้นแล้ว ยังมีระบบนำทางในยานพาหนะโดยอาศัยเทคโนโลยีการตรวจสอบตำแหน่งของยานพาหนะอัตโนมัติ (AVL) อีกด้วย
2.3 ระบบความปลอดภัยในยานพาหนะและการจัดการเหตุฉุกเฉิน ประกอบด้วยเทคโนโลยีเกี่ยวกับยวดยานอันจะช่วยเพิ่มความปลอดภัยในการขับขี่ ตลอดจนเพประสิทธิภาพและความสะดวกสบายในการขับขี่อีกทางหนึ่ง มีการควบคุมความเร็วอัตโนมัติ การเตือนการชน การหลีกเลี่ยงการชน เครื่องมือป้องกันหรือเตือนกรณีผู้ขับขี่ง่วงนอน ตลอดจนการส่งสัญญาณขอความช่วยเหลือ เป็นต้น ส่วนระบบการจัดการอุบัติเหตุหรือกรณีฉุกเฉินนั้น สามารถดำเนินการได้โดยการใช้เทคโนโลยีการบอกตำแหน่งยานพาหนะอัตโนมัติ (AVL) รวมทั้งเทคโนโลยีด้านอื่นเช่น Surveillance และ Mayday Technologies เป็นต้น
3. ใช้เชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติ ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
4. มีพื้นที่สำหรับผู้บกพร่องทางร่างกาย
6. กล้องโทรทัศน์วงจรปิดCCTV ที่ดูความปลอดภัยภายในและภายนอกตัวรถและระหว่าง
ผู้โดยสาร ขึ้น-ลง
7. ระบบป้ายสัญญาณจอแสดงภาพภายในรถโดยสารด้านหน้า – ด้านหลังรถโดยสาร
8. ระบบการจ่ายค่าโดยสารใช้ระบบเดียวกับรถไฟฟ้า ผู้ใช้บริการสามารถซื้อตั๋วได้ที่ห้องออกตั๋วและเครื่องจำหน่ายตั๋วอัตโนมัติเมื่อขึ้นสู่สถานี จากนั้นจะเดินผ่านประตูกั้น ผ่านเครื่องอ่านตั๋วซึ่งเป็นระบบตั๋วไร้สัมผัสเช่นเดียวกับรถไฟฟ้า
หน้าตาของตั๋วแบบชั่วคราว |
การเปิดใช้บริการระบบสมาร์ทการ์ดอย่างเป็นทางการ |
ตารางการคิดค่าบริการแต่ละสถานี |
ระบบการเดินรถของรถBRT
การมีช่องทางเดินรถเฉพาะ ชิดเกาะกลางของถนน โดยแยกออกจากกระแสการจราจรตามปกติ มีการ ควบคุมการเดินรถด้วยระบบขนส่งอัจฉริยะ ให้บริการทุกๆ 5-7 นาที โดยมีรถ 25 คัน คอยให้บริการรับ-ส่งทั้งไปและกลับ
ภาพบริเวณสถานี
สถานีรถโดยสาร BRT จะตั้งอยู่บนเกาะกลางถนน สามารถรองรับความจุ ของทั้งปริมาณรถและผู้โดยสาร เน้นการออกแบบให้มีภาพลักษณ์การบริการ ที่มีคุณภาพสูง สะดวก ปลอดภัย มีการปรับปรุง ภูมิทัศน์โดยรอบให้เกิดความสวยงาม ด้วยรถยนต์ หรือรถโดยสารประเภทอื่น ระยะห่างระหว่างสถานี กำหนดเอาไว้ประมาณ 700 เมตร ถึง 1 กิโลเมตร ติดตั้งระบบอำนวยความสะดวก ในการเปลี่ยน รูปแบบการเดินทาง เช่น กรณีผู้โดยสาร ต้องการเปลี่ยน เส้นทางเพื่อไปเชื่อมต่อ กับระบบขนส่ง มวลชน อื่นก็สามารถกระทำได้โดยง่าย ปลอดภัย และมีข้อมูลเพียบพร้อม
ป้ายประจำสถานี |
สะดวกสบายด้วยบันไดเลื่อนทั้งขาขึ้น ขาลง |
Information ของสถานีก็คล้ายๆ กับรถ MRT และ BTS ทั่วๆ ไป |
บริเวณโซนรอรถนั้นก็เย็นสบายด้วยเครื่องปรับอกาศ (สำหรับต้นสาย และสถานีปลายทางเท่านั้น ส่วนในอนาคตนั้นน่าจะเป็นแอร์ทั้งหมด ) |